วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานวิจัยสื่อต่าง ๆ

ชื่อเรื่อง : สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI   การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ
                เรื่อง  family  วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา  2550
                โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร
ผู้วิจัย 
    :ว่าที่ร้อยโทบุญส่ง   ประดิษฐพจน์
ตำแหน่ง:ครูวิทยฐานะชาญการ
สถานศึกษา
:โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต 2
ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ.2550

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ   เรื่อง  family   วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา   2550  โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร  ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
ในห้องปฏิบัติการทางภาษา  ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80 / 80   เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังการใช้บทเรียนสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ  และศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
 3 /1 จำนวน  33  คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและให้กลุ่มหนึ่งสอนแบบปกติและกลุ่มหนึ่งสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ  เรื่อง family  วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน  แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นแบบประมาณค่าในกิจกรรมที่ 1 – 5  และสถิติการทดลองใช้  ค่าเฉลี่ย ( mean)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) สถิติทดสอบสมมุติฐานการทดลองระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม
                1. ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ  84.05/81.43  หมายความว่า  สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อยละ  84.05  และทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนเฉลี่ยร้อยละ  81.43   แสดงว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหมายของการวิจัยข้อที่  1   ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัย  สามารถนำไปใช้ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
                     1.1. สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบนเว็บเพจ
 เรื่อง  family  วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ได้ออกแบบตามหลักการทางวิชาการ  แบ่งเป็น  3  ขั้นตอนดังนี้
                                1.1.1. การออกแบบ
1.1.2. การสร้าง 
1.1.3. การประยุกต์ใช้  สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บเพจ  เรื่อง  family 
วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ
ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 
                ครั้งที่  1  แบบหนึ่งต่อหนึ่ง  แล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงบทเรียนจากนั้นนำเอาสื่อไปทดลองใช้
ครั้งที่  2  แบบกลุ่มเล็ก  แล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงอีกครั้ง  จากนั้นนำเอาสื่อไปทดลองใช้
ครั้งที่  3  แบบภาคสนาม  ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                2. ผลการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองและหลังทดลองปรากฎว่านักเรียนที่เรียนด้วย  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสอดคล้องกับการวิจัย  เนื่องจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  การพัฒนาการเรียนการ
ที่สร้างขึ้นได้เปลี่ยนเนื้อหาจากตำรามาเป็นสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย  สามารถนำเสนอ เนื้อหาได้
กำหนดให้ตลอดจนประเมินผลการเรียนได้ด้วยตนเอง  นักเรียนจะเรียนไปตามความสามารถ
ของแต่ละบุคคล  โดยไม่ต้องเร่งหรือรอผู้อื่น  รูปแบบของสื่อจะออนไลน์บนเว็บเพจ ทำให้ผู้เรียนไม่จำกัด และสามารถเรียนซ้ำหรือทบทวนบทเรียนได้ถ้ายังไม่เข้าใจ  ผู้เรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น  หมายความว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีนั่นเอง
                3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าเจตคติ
ของนักเรียนโดยรวม สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริลักษณ์  ทองบุ  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นสื่อที่มีความปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้มากกว่าสื่อชนิดอื่นๆ  เปิดโอกาสสามารถควบคุมลำดับขั้นการเรียนรู้และอัตราการเรียนตามต้องการทำให้เกิดความรู้สึกลึกซึ้ง  กับบทเรียนและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริงมีการเสริมแรงสม่ำเสมอระหว่างเรียนซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของสกินเนอร์ที่ว่าการเสริมแรงจะมีทุกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถาม  ผู้เรียนจะได้รับผลป้อนกลับมา  ตอบถูกหรือผิดในทันทีทันใด  ผู้เรียนมีกำลังใจเมื่อตอบถูกและไม่รู้สึกอายเมื่อตอบผิด
                ดังนั้นถือได้ว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จริงถ้านำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  จะทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ  ส่งผลดีต่อการเรียนเป็นรายบุคล  เมื่อเทียบกับวิธีการสอนแบบอื่น  รวมทั้งส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นสามารถให้กับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุ และความรู้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่  หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น 


วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อคอมพิวเตอร์ประเภทออนไลน์

สื่อคอมพิวเตอร์ประเภทออนไลน์

ธรรมชาติและความหมายของสื่อ
        สื่อออนไลน์ (Online Media) สื่อที่เป็นสื่อทางเลือก สื่อเสริมหรือสื่อใหม่ เข้าถึงได้ตลอดเวลา โต้ตอบกับผู้รับสารได้ในทันที จัดเก็บสารสนเทศไว้ได้โดยง่าย เช่น เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เอ็กทราเน็ต (Extranet) บริการส่งข้อความสั้น (SMS) บริการส่งข้อความสื่อผสม (MMS) เน้นความสดใหม่ของข่าวเน้นข่าวเชิงลึก (ข่าวเชิงสืบสวน)เน้นส่วนร่วมผู้อ่านผ่านกระดานข่าว (web board), เน้นส่วนร่วมโดยสร้างพื้นที่ส่วนตัวหรือ Blog, เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานข่าวเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
                                                        
ข้อเด่นของสื่อ
            สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน
            สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด 
            ประหยัดเวลาในการศึกษาสื่อ
           สามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ข้อด้อยของสื่อ
            การป้องกันข้อมูลจากการระเมิดสิทธิเป็นไปได้ยาก 
           เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำบางสื่อไม่สามารถใช้ศึกษาเชิงวิชาการได้
           ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
หลักการใช้สื่อออนไลน์
           การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา  แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง
               คนอ่านไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ หรือต้องใช้เวลากับสิ่งหนึ่งนานๆ ดังนั้น เมื่อเข้ามาเพื่ออ่านข้อความสักหนึ่งข้อความ ผู้อ่านต้องการทราบโดยรวดเร็วว่า บทความหรือเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องอะไรที่เขาจะอ่านในบทความได้บ้าง โดยลักษณะการอ่านก็คือ การกวาดสายตา

สื่อคอมพิวเตอร์ประเภทออฟไลน์

สื่อคอมพิวเตอร์ออฟไลน์
ธรรมชาติของสื่อคอมพิวเตอร์ออฟไลน์(Offline)
                แบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น
        ข้อเด่นของสื่อ offline
             สามารถใช้ได้ทุกที่ๆมีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว
        ข้อด้อยของสื่อ offline
            ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
หลักการใช้สื่อออฟไลน์   
            เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุงสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็นและคุ้นตากับ


สื่อประเภทเสียง

         เครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi
ระบบเสียง
         1. ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
         2. ระบบเสียงสเตอริโอ
(stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา
การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
         1. แหล่งต้นเสียง
(Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ
         2. เครื่องขยายเสียง
(Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง
         3.ลำโพง
(Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได
การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
           Pre-Amp
ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ
           Tone
ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
           Power Amp
ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน
         ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
1. แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ
ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
   1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
   2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
   3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
   4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
   5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
   6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
2. แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
   1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
   2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
   3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
   4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
   1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
   2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
   3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
   4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
   5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
   6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น
คุณสมบัติของไมโครโฟน
ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
    1.ไมโครโฟนทั่วๆ ไป
มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น
   2. ความไวในการรับเสียง
เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB
   3. อิมพีแดนซ์
(Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต

การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา
การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา ควรมีหลักการในการใช้และการบำรุงรักษาดังนี้
   1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
   2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
   3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
   4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
   5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
   6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
   7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน
เครื่องบันทึกเสียง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ วงการ เช่นนักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ การสอบสวนใช้บันทึกเสียงผู้ให้ปากคำ ในวงการศึกษาได้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ การเรียนดนตรี หรือม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งใช้วิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงรายการบทเรียนไว้ฟังได้หลาย ๆ ครั้ง หรือในเวลาที่ต้องการ และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่ได้อีก นับว่าให้ความสะดวกแกผู้ใช้มากกับทั้งราคาไม่แพงด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก
หลักการบันทึกเสียงและฟังเสียง

         จากทฤษฎีทางไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆ ขดลวด ถ้าพันขวดลวดหลาย ๆ รอบบนแกนเหล็ก จะทำให้มีอำนาจเป็นสนามแม่เหล็กได้มากขึ้นในทางตรงกันข้าม เมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านขดลวดจะเหนียวทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับความแรงของสนามแม่เหล็ก ความเร็วในการเคลื่อนที่ ขนาดและความยาวของลวด หัวบันทึกของเครื่องบันทึกเสียงทำด้วยแท่งแกนเหล็กอ่อนรูปวงแหวนมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ ส่วนปลายของวงแหวนด้านหน้าเป็นช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ปล่อยเส้นแรงแม่เหล็กออกมา
         การบันทึกเสียงจะเริ่มจากคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจะผ่านไมโครโฟน ไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าตามลักษณะของคลื่นเสียง แล้วผ่านเครื่องขยายเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น สัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วนี้จะผ่านเข้าหัวบันทึกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กจะผ่านออกมาทางปลายวงแหวน ซึ่งเป็นช่องว่าง เมื่อนำเทปมาผ่านช่องว่างนี้ เส้นแรงแม่เหล็กจะทำให้ผงเหล็กออกไซต์ (Iron Oxide) มีอำนาจแม่เหล็กมากน้อยเหมือนกับตัวบันทึกนั่นก็คือการบันทึกเสียงนั่นเอง
         สารแม่เหล็ก เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก จะแสดงอำนาจแม่เหล็กและยังคงแสดงอำนาจแม่เหล็กอยู่ได้ แม้จะออกจากสนามแม่เหล็กแล้ว ดังนั้นทางตรงกันข้าม เมื่อนำแผ่นเทปที่บันทึกเสียงแล้วนี้ไปผ่านหัวฟัง (ซึ่งทำด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนเหมือนหัวบันทึก) ด้วยความเร็วเท่ากับตอนบันทึก อำนาจของแม่เหล็กบนแผ่นเทปจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดให้หัวฟังสํญญาณไฟฟ้าจะออกจากขดลวดผ่านเข้าไปในเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายให้สัญญาณไฟฟ้านี้แรงขึ้น แล้วส่งออกสำโพง ลำโพงจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณ เสียงอีกทีหนึ่ง นี่ก็คือการฟังเสียงนั่นเอง
เครื่องบันทึกเสียงโดยทั่ว ๆ ไป จะมีแถบเสียงดังนี้
   1. แถบเสียง (Single or Full Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเท่ากับความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้เที่ยวเดียวเต็มแผ่นเทป จะกรอกกลับหรือกลับม้วนเทป เพื่อบันทึกใหม่ไม่ได้
   2. แถบเสียง (Dual or Half Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของความกว้างของ แผ่นเทป บันทึกสัญญาณได้ 2 เที่ยว เที่ยวละครึ่งแถบ หมายความว่า เมื่อบันทึกไปหนึ่งแถบแล้ว สามารถกลับม้วนเทปและบันทึกได้อีกแถบหนึ่ง
   3. แถบเสียงโมโน (Quarter Track Monophonics) หัวบันทึกจะมีขนาด 1/4 ของความกว้าง ของแผ่นเทป บันทึกได้ถึง 4 เที่ยว (มีเฉพาะเทปม้วน) การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกได้ แถบที่ 1 เมื่อบันทึกหมดม้วนแล้วกรอกกลับ (ไม่ต้องกลับม้วนเทป) จะบันทึกใหม่ได้อีกแถบที่ 3 เมื่อหมดม้วนแล้วกลับม้วนเทป จะบันทึกได้อีกในแถบที่ 2 แล้วกรอกกลับบันทึกได้อีกในแถบที่ 4 เที่ยวในเทปเดียว ทั้งนี้ต้องเลื่อน ตำแหน่งสวิทซ์ที่เครื่องเทปให้ถูกต้องต้อง
   4. แถบเสียงสเตริโอ (Quarter Track Stereophonics) หัวบันทึกจะมี 2 หัว แต่ละหัวจะมี ขนาด 1/4 ของความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้ 2 เที่ยวละ 2 แถบ การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกในแถบที่ 1 และ 3 เมื่อกลับม้วนเทปหรือตลับเทป จะบันทึกได้อีก 1 เที่ยวในแถบที่ 2 และ 4 ซึ่งมีทั้งชนิดม้วนชนิดตลับ
ส่วนประกอบของเครื่องบันทึกเสียงและการทำงาน
ส่วนประกอบในเครื่องบันทึกเสียงๆ ไป ที่ควรทราบมีดังนี้
   1) วงล้อจ่ายเทป (Supply Reel) มีเฉพาะเทปม้วน เมื่อเราต้องการจะบันทึกหรือฟังเสียงให้เอาม้วน เทปที่มีแผ่นเทปบรรจุอยู่มาใส่ตรงจุดนี้
   2) วงล้อรับเทป (Take-up Reel) เป็นม้วนเทปเปล่าใช้สำหรับรับเทปจากวงล้อจ่ายเทป
   3) ล้อเทปผ่าน (Stabilizer or Tape Guide) เป็นล้อสำหรับกั้นให้เทปดึงตลอดเวลาที่เครื่องทำงาน
   4) ตัวควบคุมความเร็วของเทป (Capstan) ทำหน้าที่หมุนดึงเทปให้เข้าสู่วงล้อรับเทปตามความเร็วที่ ต้องการ
   5) ล้อยางกดเทป (Pinch Roller) ทำหน้าที่บีบแผ่นเทป โดยทำงานควบคู่ไปกับตัวควบคุมความเร็ว ของเทป
  6) หัวลบ (Erase Head) ทำหน้าที่ลบสัญญาณที่บันทึกไว้
  7) หัวบันทึก (Record Head) ทำหน้าที่บันทึกสัญญาณทำงานพร้อมกับหัวลบ
  8) หัวฟัง (Playback Head) มีลักษณะเหมือนหัวบันทึก แต่ทำงานตรงกันข้าม

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์
ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
           สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี  ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
           สื่อ หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
พิมพ์ หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า              
                                 ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงหมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆด้วยวิธีการต่างๆอันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับ  
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
       สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
             - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความ เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
  สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน
- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
- สิ่งพิมพ์โฆษณา
- โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
- ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
 สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
 สิ่งพิมพ์มีค่า
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้น
สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฏิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
 สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
        สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท ดังต่อไปนี้
             1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร, นิตยสาร เป็นต้น
            2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้
ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมาย, ใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ, โฆษณาหน้าเดียว, นามบัตร เป็นต้น
             4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน
และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝาก,ใบถอน, ธนบัตร, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
              5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิว, แผ่นพับ, จุลสาร
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
      หลักการสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
             1. การระบุค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม ได้แก่ ค่ากำหนดแถบไม้บรรทัด (Ruler) ว่าเป็นนิ้ว, เซนติเมตรหรือ มิลลิเมตร และยังมีการกำหนดระยะกระโดด หรือที่เรียกว่า Tab ซึ่งควรปรับแต่งค่าเหล่านี้
ก่อนการพิมพ์ให้เหมาะกับความถนัดและเหมาะกับงานพิมพ์นั้น จะช่วยให้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เกิดความสะดวก
รวดเร็ว และตรงกับความต้องการ
             2. การกำหนดค่าของกระดาษ กระดาษแบ่งตามผิวได้ 2 ประเภทคือ
                       2.1 กระดาษไม่เคลือบผิว เป็นกระดาษที่ไม่มีการเคลือบของผิวกระดาษด้วยสารใด ๆ จะมีลักษณะเป็นผิวขรุขระ
                       2.2 กระดาษเคลือบผิว เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิวด้วยสารเคมีที่ผิวกระดาษ เพื่อให้เกิดความมัน และเรียบ
              ซึ่งมาตรฐานสิ่งพิมพ์ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) แบ่งมาตรฐานกระดาษไว้ 3 ชุด ชุด A และ B สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป และชุด C  สำหรับ
งานซองจดหมาย ซึ่งกระดาษจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนความกว้างและความยาวอยู่ที่ 1 : 1.414 โดยประมาณ
              3. การตั้งค่าเครื่องพิมพ์ ได้แก่ การตั้งระยะกั้นหน้า (Left Margin) การตั้งระยะกั้นหลัง
(Right Margin) การตั้งระยะขอบบน (Top Margin) หรือการตั้งระยะขอบล่าง (Bottom) เครื่องพิมพ์
แต่ละประเภท แตกต่างกัน หากไม่ได้กำหนดค่าเครื่องพิมพ์ งานพิมพ์ที่ได้อาจเสียระยะในการจัดพิมพ์ไว้ในเอกสาร
ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์
             1. เก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งพิมพ์
             2. สรุปลักษณะต่าง ๆ เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ลักษณะกระดาษ
             3. ออกแบบแนวคิดสื่อสิ่งพิมพ์ว่าต้องการให้ออกมาให้รูปแบบใด
             4. ทดลองทำและแก้ไขในสิ่งที่ต้องการปรับปรุง
             5. พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อประเภทเครื่องฉาย

สื่อประเภทเครื่องฉาย(Projected Media)
                       เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่   เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
ประเภทของเครื่องฉาย
     เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น

1. แบ่งตามระบบการฉาย
        1.1.  ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
        เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ



 1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย
        แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส

      1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉาย
        ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง
 2.  แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
          2.1  เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
          2.2  เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.  แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
          3.1  เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (Transparency Projector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (Transparency Materials)  เช่น  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
          3.2  เครื่องฉายภาพทึบแสง  (Opaque Projector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
          3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง

เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ
 4.  แบ่งตามลักษณะการใช้งาน  ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ  เช่น
          4.1  เครื่องฉายสไลด์ 
          4.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
          4.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
         4.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง
          4.5  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
5.  แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
          5.1  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย  เช่น
             5.1.1  เครื่องฉายสไลด์ 
             5.1.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
             5.1.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
            5.1.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง 
          5.2  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร  โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค  LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT  จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น  DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล  เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น  จนแทบจะกล่าวได้ว่า  เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว  
ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 Wเครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W

หลอดฉายในเครื่องฉายดิจิตอล ของ BenQ
ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับหลอดฉายต่าง ๆ ดูได้ที่ห้องสมุดนี้(http://www.donsbulbs.com)
แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมแบบก้นกะทะ ฉาบด้วยวัสดุสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงของหลอดฉายให้พุ่งออกเป็นลำแสงขนานไปในทิศทางเดียวกันหลอดฉายบางชนิดจะมีส่วนที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงติดอยู่ด้วย
   
เลนซ์รวมแสง(Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสงไม่มีเลนซ์ชนิดนี้ เนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงใช้วิธีการฉายแบบสะท้อน
แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป
เลนซ์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลนซ์นูน ทำหน้าที่บังคับแสงที่ผ่านมาจากวัสดุฉายให้ปรากฏที่จอ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมการปรับความคมชัดของภาพบนจอที่เรียกว่าปรับโฟกัสจะปรับที่เลนซ์ตัวนี้ บางครั้งจึงมีผู้เรียกเลนซ์นี้ว่า เลนซ์โฟกัส(Focusing Lens) ภาพที่ผ่านเลนซ์นี้ไปปรากฎบนจอจะเป็นภาพกลับดังนั้น เพื่อให้ฉายภาพได้เป็นภาพปกติการใส่วัสดุฉายจึงต้องกลับหัวลง
 6 เลนซ์เกลี่ยแสง (Freshnel Lens) มีใช้ในเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสเท่านั้น ทำหน้าที่คล้ายกับเลนซ์รวมแสง ช่วยรวมแสงร่วมกับเลนซ์รวมแสง และช่วยเกลี่ยแสงให้ผ่านแผ่นโปร่งแสงซึ่งมีขนาดใหญ่ได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น
      7. พัดลม (Fan) ใช้สำหรับการระบายความร้อนออกจากเครื่องฉาย ถ้าพัดลมเกิดชำรุดอาจทำให้เครื่องฉายเสียหายได้ง่าย ในเครื่องฉายบางชนิด เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใสอาจมีส่วนควบคุมการทำงานของพัดลมอัตโนมัติ คือพัดลมจะทำานอัตโนมัติเมื่อเครื่องร้อน ถ้าเครื่องยังไม่ร้อน พัดลมจะหยุดการใช้เครื่องฉายบางชนิดหลังจากปิดฉายแล้วมีความจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไว้ก่อน 2-5 นาที เพื่อให้พัดลมระบายความร้อน
องค์ประกอบของการฉาย
        การฉายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการคือมีจอฉาย  เครื่องฉาย และวัสดุฉาย
1. จอ(screen)
2. เครื่องฉาย
3. วัสดุฉาย  ซึ่งมีทั้งวัสดุโปร่งแสงและวัสดุทึบแสง
  วัสดุโปร่งแสง  และวัสดุทึบแสง
 สภาพของการฉายที่ดี
1. การควบคุมแสงสว่าง  จะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อย ๆ มืด หรือจากมืดไปค่อย ๆ สว่าง
2. ระบบเสียง  ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ  ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion
เครื่องฉายสไลด์(Slide Projector)

ชนิดของเครื่องฉายสไลด   แบบถาดแนวนอน  แบบถาดแนวตั้ง
การใส่แผ่นสไลด์ลงถาดใส่สไลด์  ภาพต้องเป็นภาพหัวกลับ (ด้านที่อ่านได้)
 การใช้เครื่องฉายสไลด์   การใช remote control แบบไร้สาย
การใช้เครื่องฉายสไลด์   (โดยเสาวลักษณ)
ตัวอย่างปุ่มควบคุมเครื่องฉายสไลด์
 เครื่องฉายฟิล์มสตริปเสียง
         ลักษณะของฟิล์มสตริป มี 2 ชนิดคือ ชนิด single frame กับชนิด full frame (double  frame)
   ชนิด single frame จะมีลักษะที่มีภาพตั้งฉากกับแนวรูหนามเตย
   ชนิด double frame จะมีลักษณะภาพเป็นแนวเดียวกับรูหนามเตย
ข้อสังเกตุ ฟิล์มสตริปจะถ่ายภาพเป็นแนวเดียวกันตลอด